Supakorn Visutthicho

เราทำ Channel Bonding บน Wi-Fi ได้เท่าไหร่ ??

บน Wireless หรือ Wi-Fi ที่เราใช้งานกันอยู่นั้น จะใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ในการสื่อสาร โดย Wi-Fi ทำงานอยู่ที่ย่านความถี่ 2400MHz (2.4GHz) กับ 5000MHz (5GHz) และความถี่ใหม่สำหรับ Wi-Fi 6E ที่ 6000MHz (6GHz)

2.4 GHz
ย่านความถี่ที่ 2.4GHz ถูกกำหนดให้ใช้งานตั้งแต่ 2.401 ถึง 2.495 โดยแบ่งช่องสัญญาณจะถูกแบ่งออกช่องละ 22MHz แต่ละช่องห่างกัน 5MHz ก็จะได้ประมาณ 14 ช่อง หรือที่เราเรียกว่า Channel ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีกำหนดว่าจะใช้งานได้กี่ Channel เวลาเราเขียนช่องสัญญาณออกมาจะเขียนตัวเลขที่เป็นกึ่งกลางของช่องสัญญาณ เรียกว่า Center Frequency
การใช้งานช่องสัญญาณจะเห็นว่ามันมีการทับซ้อนกันในแต่ละช่อง ดังนั้นเวลาที่เราเลือกใช้งานช่องสัญญาณ เราก็จะเลือกใช้งานช่องสัญญาณที่ไม่ทับซ้อนกัน เพื่อลดปัญหาการรบกวนกันของสัญญาณ (Channel Interference) บนย่านความถี่ 2.4GHz เราจึงมีช่องสัญญาณให้ใช้ได้เพียง 3 ช่อง ที่ไม่ทับซ้อนกัน นั่นคือ Channel 1, 6 และ 11

Empty space, drag to resize

5 GHz

ย่านความถี่ที่ 5GHz ถูกกำหนดให้ใช้งานตั้งแต่ 5.170 ถึง 5.835 โดยแบ่งช่องสัญญาณประมาณ 25 ช่อง ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะช่องสัญญาณที่ไม่เหมือนกัน บน 5GHz ทาง FCC กำหนดช่องสัญญาณออกเป็นกลุ่ม ใช้ชื่อเป็น Unlicense National Information Infrastructure หรือ UNII สำหรับในอเมริกา (ซึ่งประเทศไทยก็ใช้ตามนี้) มีทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ UNII-1 , UNII-2a , UNII-2c (extended) และ UNII-3

ในแต่ละกลุ่มก็จะมีช่องสัญญาณที่ถูกแบ่งออกมา และ บางช่องสัญญาณถูกสงวนเอาไว้ใช้งานกับ Radar ตามสนามบิน ตรวจอากาศ หรือ ทางการทหาร เราเรียกว่า Dynamic Channel Frequency (DFS) ถ้าเราไม่ได้ใช้งานช่องสัญญาณเหล่านี้ใกล้กับพื้นที่ที่ต้องใช้งาน Radar ต่างๆ ก็สามารถเปิดใช้งานสำหรับ Wi-Fi ได้
Channel Bonding
และเมื่อมีช่องสัญญาณให้ใช้งานได้เยอะขึ้น เราก็สามารถเอาช่องสัญญาณมารวมกันเพื่อให้ได้ช่องสัญญาณที่กว้างขึ้น เมื่อช่องสัญญาณกว้างก็ทำให้เราได้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลบน Wi-Fi เยอะขึ้นตามไปด้วย เรียกว่าการทำ Channel Bonding เช่น เอาช่อง 36 รวมกับช่อง 40 แต่ละช่องมีความกว้าง 20MHz ก็จะได้ 20MHz+20Mhz = 40MHz นั่นเอง โดยที่ 802.11ac (Wi-Fi 5) หรือ 802.11ax (Wi-Fi 6) สามารถ Bonding ได้ถึง 160MHz เลย

ตัวอย่างการทำ Channel Bonding

20MHz
= 36 | 40 | 44 | 48 | 52 | 56 | 60 | 64 | 100 | 104 | 108 | 112 | 116 | 120 | 124 | 128 | 132 | 136 | 140 | 149 | 153 | 157 | 161 | 165 = 24 Channels
40MHz = 36+40 | 44+48 | 52+56 | 60+64 | 100+104 | 108+112 | 116+120 | 124+128 | 132+136 | 149+153 | 157+161 = 11 Channels
80MHz = 36+40+44+48 | 52+56+60+64 | 100+104+108+112 | 116+120+124+128 | 149+153+157+161 = 5 Channels
160MHz = 36+40+44+48+52+56+60+64 | 100+104+108+112+116+120+124+128 = 2 Channels

จะเห็นว่าการทำ Bonding หรือ การรวมช่องสัญญาณไป จะทำให้เราใช้ช่องสัญญาณได้ลดลงไปด้วย ก็อาจจะมีโอกาสทำให้เกิดการรบกวนกันได้ (Overlap) ดังนั้นการใช้ 160MHz ในปัจจุบันนี้บนย่านความถี่ 5GHz สำหรับการใช้งานบน Access Point (AP) มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป จึงยังไม่แนะนำ !!!

ปกติในการออกแบบและติดตั้งในบริษัท องค์กร โรงแรม มหาวิทยาลัย และอื่นๆ ถ้ามี AP ไม่เยอะมาก และ สามารถวาง AP โดยให้ช่องสัญญาณไม่รบกวนกัน ก็สามารถ Bonding ที่ 80MHz ได้ แต่ถ้ามีการใช้งาน Access Point (AP) จำนวนเยอะๆ ก็จะแนะนำให้ใช้ที่ 40Mhz ครับ

ในบทความนี้ขออยังไม่พูดถึงย่านความถี่ 6GHz บน Wi-Fi 6E นะครับ ไว้มีเวลาผมจะเขียนแยกเป็นอีกบทความนึงน่าจะดีกว่า

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม แล้วพบกันในบทความต่อไปครับ
Created with